เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มนสิกโรติ แปลว่า กระทำไว้ในใจ. คำที่เหลือ แม้
ในสูตรทั้งสองนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในสูตรที่ 3. ก็ภิกษุใด
ย่อมเสพ ภิกษุนี้แหละชื่อว่า ย่อมเจริญ ภิกษุนี้ชื่อว่ากระทำในใจ.
ภิกษุย่อมเสพด้วยจิตใด ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยจิตนั้นนั่นแล ชื่อว่า
ย่อมทำไว้ในใจด้วยจิตนั้น. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้
สมบูรณ์ด้วยลีลาแห่งเทศนา เพราะทรงแทงตลอดธรรมธาตุใด
ทรงอาศัยลีลาแห่งเทศนา 1 ความเป็นใหญ่ในธรรม 1 ความฉลาด
ในประเภทแห่งปฏิสัมภิทา 1 พระสัพพัญญุตญาณอันไม่ติดขัด 1
ของพระองค์ เพราะทรงเป็นผู้แทงตลอดธรรมธาตุนั้น จึงทรงจำแนก
แสดงจิตดวงเดียว ซึ่งเกิดขึ้นในขณะเดียวเท่านั้น โดยส่วนทั้ง 3.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เยเกจิ เป็นคำกำหนดไม่แน่นอน. บทว่า อกุสลา
เป็นคำกำหนดแน่นอนแห่งอกุศลเหล่านั้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้
อกุศลธรรมทั้งหมด เป็นอันกำหนดเอาโดยไม่เหลือ คำว่า อกุสล-
ภาคิยา อกุสลปกฺขิกา
นี้ เป็นชื่อแห่งอกุศลธรรมทั้งนั้น. จริงอยู่